A video/multimedia journalist from Thailand covering politics, social issues, political participation. (Thai/English)

ไม่รัก (ไม่ต้อง) ระวังติดคุกนะ: คุยกับคนรุ่นใหม่ในยุโรปเรื่องราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ

“เราทราบกันดีว่า สถาบันกษัตริย์ในประเทศแถบยุโรปปรับตัวอย่างเข้มข้นมาเนิ่นนานเพื่อที่จะยังรักษาสถาบันเก่าแก่นี้ไว้ในโลกยุคใหม่ที่แทบไม่มีพื้นที่ให้กับสถาบันที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน สถาบันกษัตริย์ในประเทศประชาธิปไตยเข้าใจดีว่าสถานภาพและการดำรงอยู่ของตนในสังคมสมัยใหม่นั้นขึ้นอยู่กับการทำให้สถาบันเป็นที่ยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ผ่านการวางตนเป็นกลางทางการเมืองอย่างเคร่งครัด รักษาราชวงศ์ให้มีขนาดเล็กเพื่อไม่ให้ถูกวิจารณ์เรื่องงบประมาณที่มาจากภาษีประชาชน หลีกเลี่ยงการตกเป็นข่าวอื้อฉาว รับฟังและรับผิดชอบต่อประชาชน”

ชิมก่อนทิ้ง: การจัดการขยะอาหารในเนเธอร์แลนด์

"1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตเพื่อมนุษย์กลายเป็นขยะอาหาร คิดเป็น 1.3 พันล้านตันต่อปี ผักและผลไม้ถูกทิ้งมากที่สุด คนในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือทิ้งขยะอาหารมากกว่าคนในทวีปแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 10 เท่า โดยมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภค เมื่อคนเลือกซื้อแต่อาหารที่ดูดี ร้านค้ามักจะทิ้งอาหารที่ ‘ดูไม่ดี แต่จริง ๆ ยังดีอยู่’ ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่มีตัวเลือกในการซื้ออาหาร นอกจากของที่ดูดีดูสดใสร้านค้าเท่านั้น"

"อยากให้เจ้าอยู่อย่างเป็นที่รักแบบประชาธิปไตย"

“ไม่ได้มาล้มเจ้า แค่อยากให้เจ้าอยู่อย่างเป็นที่รักแบบประชาธิปไตย” กลุ่มคนไทยในเนเธอร์แลนด์ชุมนุมแสดงพลังสนับสนุน 3 ข้อเรียกร้องของกลุ่มราษฎร ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา พร้อมจัดกิจกรรมรำลึกถึงนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกดำเนินคดี ถูกอุ้มหาย และถูกฆาตกรรม แม้ทั้งประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์จะปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน ผู้ปราศรัยและผู้ร่วมชุมนุมต่างตั้งข้อสังเกตถึงความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญ กฎหมายหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมถึงคุณภาพชีวิตของคนในสองประเทศ

'Ik ben ราษฎร' เสียงคนรุ่นใหม่ไทยในเนเธอร์แลนด์กับความเหมือนที่ต่างของระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ

คุยกับผู้ประท้วงชาวไทย หน้าศาลโลก กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ กับข้อความที่ว่า ‘Ik ben ราษฎร’ หรือ ฉันคือราษฎร อยากบอกคนที่ไทยให้รู้ว่าไม่ได้สู้ตามลำพัง ชี้ปัญหารัฐธรรมนูญ 60 สะท้อนความผิดปกติของประชาธิปไตยแบบไทยๆ พร้อมวิเคราะห์ความเหมือนที่แตกต่างของระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

Backpack Journalist: ลี้ภัยในฝรั่งเศส

“ได้ออกจากสถานกักกันมาอยู่ที่ปารีส สำหรับผมมันคือปาฏิหาริย์” คุณเกิดและอาศัยอยู่ในประเทศคองโก มีการงานที่ดี เป็นนักบัญชีที่มีรายได้ มีการต่อสู้กันระหว่างเผ่าพันธุ์ คุณถูกจ้องทำร้ายจนต้องหลบหนีหาทางออกจากประเทศ คุณขอความช่วยเหลือเท่าที่ทำได้ คนที่ช่วยเหลือคุณเสนอให้คุณไปประเทศไทย เพราะเป็นประเทศที่สามารถขอวีซ่าผ่านเอเจนซี่ได้ โดยไม่ต้องทำเรื่องด้วยตัวเองและมีสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ที่คุณหวังว่าจะสมัครขอรับสถานะผู้ลี้ภัยเพื่อไปอยู่ประเทศอื่นได้ คุณมาถึงเมืองไทย เดินทางไปสำนักงาน UNHCR ในกรุงเทพฯ คุณได้เอกสารที่บอกว่าคุณคือ “บุคคลในความห่วงใย” เป็นผู้ขอลี้ภัยที่ยังไม่ได้รับสถานะ และไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้รับสถานะ วีซ่าท่องเที่ยวของคุณหมดอายุ คุณตัดสินใจอยู่ในกรุงเทพฯ ต่อเพื่อติดตามความคืบหน้าของกระบวนการ คุณต้องอยู่แบบระมัดระวังตัว เพราะคุณอาจถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจับในฐานะคนเข้าเมืองผิดกฎหมายเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะประเทศไทยไม่รับรองสถานภาพของผู้ลี้ภัย นี่คือเรื่องราวของ Eric เขาถูกจับอยู่ในสถานกักกันของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในกรุงเทพฯ เป็นเวลา 2 ปี 8 เดือน

เพื่อนที่ไม่รู้จัก(แต่ล้วนรักประชาธิปไตย)ในทวิตเตอร์: ฐานการต่อสู้เพื่อเสรีภาพที่ไม่มีในโลกออฟไลน์

จากรัฐประหารวันนั้นถึงการชุมนุมวันนี้ คนรุ่นใหม่ไทยใช้ทวิตเตอร์เป็นที่มั่นสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระบายความรู้สึก แชร์ข้อมูลที่สื่อหลักไม่รายงาน ช่วยคนที่ถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมกันสร้างภาษาเพื่อดันเพดานเสรีภาพในการแสดงออก และแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันผ่านหลากหลายแฮชแท็ก เครือข่ายหลวม ๆ ของ “เพื่อนที่ไม่รู้จัก” ร่วมกันต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในโลกออนไลน์จนสุกงอม พร้อมแสดงพลังในโลกออฟไลน์อย่างที่เรามีโอกาสได้ชื่นชม ใครที่ตายังพร่า มองเห็นแค่ส่วนที่โผล่พ้นน้ำของภูเขาน้ำแข็งและยังคิดว่า “เด็กพวกนี้ มันต้องมีท่อน้ำเลี้ยงแน่ ๆ” บทความนี้ชวนทำความเข้าใจการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล และชวนมองฐานอันแข็งแกร่งของภูเขาน้ำแข็งที่ซ่อนอยู่ใต้กระแสน้ำที่เชี่ยวกราก

Young and Fear(less): Becoming a brave citizen in a culture of fear

Young and fear(less), as a Thai citizen, we seek and fight for freedom of expression through whatever way we can from tweeting with anonymous accounts, writing a school thesis, organizing political events (despite being threatened and sued by the state), to speaking in the House of Representatives. In this culture of fear, we are working on shaking the fear away. We are working on being brave. We are making ourselves committed to our duties and rights as citizens who long for democracy. And if you are still afraid, you are not alone.

Taste Before You Waste ชิมก่อนทิ้ง

1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตเพื่อมนุษย์กลายเป็นขยะอาหารคิดเป็น 1.3 พันล้านตันต่อปี ผักและผลไม้ถูกทิ้งมากที่สุด คนในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือทิ้งขยะอาหารมากกว่าคนในทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 10 เท่า โดยมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภค เมื่อคนเลือกซื้อแต่อาหารที่ดูดี ร้านค้ามักจะทิ้งอาหารที่ ‘ดูไม่ดี แต่จริง ๆ ยังดีอยู่’ ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่มีตัวเลือกในการซื้ออาหาร นอกจากของที่ดูดีดูสดใสร้านค้าเท่านั้น Taste Before You Waste ขอรับอาหารจากร้านค้าในอัมสเตอร์ดัมเพื่อนำมาแจกจ่ายฟรี รวมทั้งทำอาหารเพื่อเชิญชวนคนที่สนใจมารับประทานและเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาขยะอาหาร (Food waste) ไปด้วยกัน

Right to Roam: พเนจรในนอร์เวย์ด้วยสิทธิแห่งการเข้าถึงธรรมชาติ

หลังจากขับรถเร่ร่อนมาจนฟ้ามืด เราเจอที่ว่างแห่งหนึ่งข้างทาง ไกลจากแหล่งที่พักหลายกิโล มีน้ำตกเล็ก ๆ เหมาะกับการตั้งแคมป์เป็นที่สุด หลังจากเล็งแล้วว่าไม่ใช่พื้นที่เกษตรกรรมแน่นอน เราก็เริ่มกางเต็นท์ ตั้งเตาสนาม ทำกับข้าวมื้อดึกกิน อิ่มท้องกำลังจะล้างจาน รถคันหนึ่งขับมาจอด ชายหญิงคู่หนึ่งลงจากรถ เดินมาพูดภาษาอังกฤษบอกว่าเราตั้งแคมป์ที่นี่ไม่ได้ พวกเขาเป็นเจ้าของที่ “แต่ตามกฎหมายของประเทศคุณ พวกเรามีสิทธิที่จะตั้งแคมป์ที่นี่”

ผู้ขอลี้ภัยในประเทศแห่งความสุข คุกเปิดในเดนมาร์ก และคนเข้าเมืองที่เขาไม่ต้องการ

ไกลจากตัวเมือง in the middle of nowhere หลายคนเรียกที่นี่ว่า ‘คุกเปิด’ บ้านที่คนสองร้อยกว่าคนไม่ได้คาดฝันว่าจะมาอยู่ คนส่วนใหญ่เป็นชาวเคิร์ด มีทั้งผู้หญิงผู้ชาย วัยหนุ่มสาวจนถึงชรา พวกเขาหนีสงครามและวิกฤติการเมืองมาจากตะวันออกกลาง จุดหมายปลายทางคือ ‘ชีวิตที่ดีกว่า’ ในเดนมาร์ก แต่ชีวิตจริงไม่สวยงามตามที่ฝัน ทุกวันนี้พวกเขาเป็นผู้ขอลี้ภัยที่ถูกรัฐบาลปฏิเสธ ไม่มีสิทธิอยู่ในประเทศนี้ กลับประเทศตัวเองก็ไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน โอกาสเดียวที่รัฐบาลเดนมาร์กหยิบยื่นให้คือการใช้ชีวิตในศูนย์กักกัน

Global Climate Strike เดนมาร์ก

“ถ้าเราไม่ลงมือทำอะไรตั้งแต่ตอนนี้ มันจะเป็นปัญหาที่คนรุ่นเรานี่แหละจะต้องเผชิญ” การประท้วงเพื่อสภาพภูมิอากาศสะท้อนพลังของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในฐานะพลเมือง

First Time Voters ในเดนมาร์ก

เลือกตั้งก่อนไม่รอแล้วนะ! ประชาธิปไตย 3 วินาทีในไทย ยังไม่ยากเท่าประชาธิปไตย 5 ชั่วโมงในเดนมาร์ก #Backpackjournalist ตามติดเบื้องหลังการใช้สิทธิ์ของกลุ่ม First time Voters ในเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2562

สัมภาษณ์ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ณ เบอร์ลิน

“คุณเลือกเกิดอย่างผมได้ไหม? ไม่ได้ ผมอยากจะเกิดเป็นคนจนบ้างเพื่อจะได้ไม่โดนแซะ เลือกเกิดได้ไหม? ผมก็เลือกเกิดไม่ได้ใช่ไหม ทุกคนเลือกเกิดไม่ได้ ทำอย่างไรที่จะทำให้คนเท่ากันได้ มันมีอยู่ทางเดียวก็คือต้องสร้างรัฐสวัสดิการที่เข้มแข็ง” ฟังหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่อธิบายทำไม 'การขึ้นค่าแรง' ไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของการแก้ปัญหาแรงงาน

ธนาธรเยี่ยมคนไทยในเบอร์ลิน

"เราอยากจะมาแนะนำตัว พรรคของเราให้ชุมชนนักการฑูตในยุโรปได้รับรู้... อันดับที่สองเราก็มาพูดถึงสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย ในแง่ของความเป็นจริงที่ไม่ใช่จากรัฐบาลคุณประยุทธ์ ต้องอย่าลืมว่ารัฐบาลคุณประยุทธ์กำลังจะมาที่นี่ในสัปดาห์หน้า" ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นำทีมพรรคอนาคตใหม่พบคนไทยในกรุงเบอร์ลิน

‘กรีดยาง ทำไร่ ไปศาล’ อาชีพหลักของนักปกป้องสิทธิฯ ที่วังสะพุง

ผ่านมาสี่ปี ทุกวันนี้นอกจากทำมาหากินด้วยการกรีดยาง และทำไร่ หน้าที่ของเธอที่เพิ่มมาคือ ไปศาล และเก็บบันทึกข้อมูลเพื่อต่อสู้ทางคดีที่มีโจทก์เป็นหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชน เส้นทางชีวิตจากคนที่เคยออกจากชุมชนไปไกล กลายมาเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและต่อสู้เพื่อรักษาทรัพยากรในบ้านเกิดได้อย่างไร เราชวนคุณปูเสื่อนั่งคุยกับรจน์ ในสวนยางที่อยู่ไม่ไกลจากปากทางเข้าบริษัทเหมืองแร่ทองคำ

ชุมชนคือสิ่งที่ต้องรักษา คุยกับชาวเทพาเรื่องสิทธิ และชะตาชีวิตที่ขอออกแบบเอง

“แต่ก่อนชุมชนเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขามีสิทธิในการปกป้องแม่น้ำ เขาคิดว่าแม่น้ำเป็นของรัฐบาล เป็นของอำเภอ คิดว่าอำเภอเป็นคนคุม จังหวัดเป็นคนคุม ต้องยอมให้เขาทำ ก็ต้องขอบคุณโรงไฟฟ้าที่ทำให้คนเข้าใจสิทธิของตัวเองมากขึ้น” บ่าว มัธยม ชายเต็ม พูดไปด้วยขำไปด้วยขณะล่องเรือผ่านอุโมงค์โกงกาง แหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของ อ.เทพา จ.สงขลา ส่วนคนฟังที่นั่งอยู่บนเรือลำเดียวกันมีอาการลังเลอยู่บ้างที่จะขำตาม เพราะภาพวันสลายการเดินเพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี และการอดอาหารหน้าองค์การสหประชาชาติ ยังให้ความรู้สึกเหมือนเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้

Living Beyond "30 Baht" ต่อยอดชีวิตหลัง "30บาท"

The short documentary ต่อยอดชีวิตหลัง 30 บาท or Living Beyond “30 Baht” reveals the tip of this iceberg of inequities by showing the human face of a handful of ‘cases’. By disclosing the struggle and resilience of ordinary Thais who cope with illnesses, ageing and disabilities with the support from the 30 Baht insurance and other schemes, this short documentary aims to raise awareness of the importance of social and health protection, and the need to go beyond numbers and clinical settings to a more values-based and empathy-driven vision of what it is needed to attain good health.
Load More Articles